จดทะเบียนบริษัทเสร็จแล้ว จะจัดการอย่างไรต่อ ?

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ทุกท่าน หลังจากที่คุณจดทะเบียนบริษัทแล้ว ต้องบอกว่ายังไม่จบแค่นี้ เพราะคุณต้องดำเนินการในเรื่องต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อรักษามาตรฐานและความสมบูรณ์ของการเป็นบริษัท ตามที่กฏหมายกำหนด ซึ่งในวันนี้เราจะมาอธิบายให้ทราบกันว่า หลังจากที่เราจดทะเบียนบริษัทเสร็จแล้ว จะต้องจัดการอย่างไรต่อ ?

1. ยื่นแบบภาษี

โดยการยื่นแบบภาษีจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.1 ภาษีประจำเดือน

– ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ เงินที่ผู้จ่ายหักเอาไว้ก่อนนำไปจ่ายให้แก่ผู้รับเงิน แล้วนำเงินจำนวนที่หักไปให้แก่รัฐ ผู้รับเงินจะไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน แต่จะได้หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ลักษณะเป็นเงินบวกกระดาษแผ่นหนึ่ง) ส่วนผู้จ่ายจะต้องจ่ายเงินเต็มจำนวน เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็คือให้สรรพากรภายใน 7 กรณีปริ้นไปยื่นมือที่สรรพากรท้องที่ หรือภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปกรณีที่คุณยื่นภาษีเป็นแบบออนไลน์

คุณต้องยื่นเป็นแบบ ภ.ง.ด.3 เมื่อมีการจ่ายทั้งให้บุคคลภายนอกและหักภาษีไว้ทั้งที่เป็นแบบบุคคลธรรมดา แต่ในกรณีที่จ่ายให้แก่นิติบุคคล คุณต้องยื่นเป็นแบบ ภ.ง.ด.53 และถ้าหากคุณมีการจ่ายเงินเดือนให้ตนเอง หรือมีการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานในจำนวนที่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องถูกหัก ก็จะต้องหักภาษีไว้แล้วนำส่งแบบ ภ.ง.ด.1 ด้วยครับ

ต่อมาคือภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่คุณมีการจด VAT คุณต้องนำส่งสรรพากรด้วยตนเองภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือจะยื่นออนไลน์ในระบบ E-filing ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไปก็ได้ครับ ซึ่งการยื่นจะใช้แบบ ภ.พ.30

1.2 ภาษีกลางปี

คุณอาจจะต้องมีหลักการคำนวณที่แม่นยำ เพราะคุณต้องทำการประมาณการภาษีทั้งปีว่าคิดเป็นจำนวนเท่าไหร่ จากนั้นให้นำมาหาร 2 เพื่อคิดเป็นยอดภาษีกลางปี ซึ่งถ้าหากคุณมีการคำนวณผิด ก็จะโดนปรับเงินด้วย ซึ่งตรงนี้คุณต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังกลางปีของรอบบัญชีคุณผ่านไป โดยเรียกว่าการยื่นแบบ ภ.ง.ด51

1.3 ภาษีสิ้นปี

คุณต้องเสียภาษีจากงบการเงินของคุณเมื่อถึงสิ้นปี ซึ่งตรงนี้คุณสามารถเอาภาษีที่จ่ายไปเมื่อกลางปีและภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายทั้งปีมาหักลบกับภาษีสิ้นปีได้ โดยจะมีระยะเวลากำหนดการที่จะต้องยื่นภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชี ซึ่งเรียกว่าการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50

2. แบบสรุปเงินเดือนค่าจ้าง

คุณต้องส่งแบบสรุปเงินเดือนค่าจ้าง (ภ.ง.ด.1ก) ตามมาตรา 58 (2) ให้แก่สรรพากรภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี อันเป็นการสรุปเงินได้ตลอดทั้งปีที่จ่ายให้แก่พนักงานของคุณ ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับภาษีที่ต้องจ่ายครับ กล่าวคือ การนำเอา ภ.ง.ด.1 มาสรุป โดยในกรณีที่คุณไม่ได้ยื่นแบบสรุปเงินเดือน คุณก็จะถูกเรียกเก็บค่าปรับครับ

3. ประกันสังคม

ในกรณีที่มีการจ้างพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป หน้าที่ของคุณคือการนำส่งประกันสังคมทุกเดือน และต้องยื่น กท.20 ก ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งรายละเอียดของเอกสารฉบับนี้ จะเป็นข้อมูลจากปีก่อนเกี่ยวกับ จำนวนพนักงานของคุณ และยอดรวมในการส่งประกันสังคมของคุณในตลอดทั้งปี

4. งบการเงินและรายชื่อผู้ถือหุ้น

คุณต้องมีการจัดประชุมภายในสี่เดือนนับตั้งแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาของบัญชี (ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด) แล้วมีการประกาศลงในหนังสือพิมพ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน เช่น ถ้าหากวันสิ้นรอบบัญชีของคุณ คือ วันที่ 31 กรกฎาคม คุณจะต้องมีการจัดประชุม เพื่อหารือและอนุมัติงบการเงินภายในวันที่ 31 ตุลาคมของปีนี้ จากนั้นต้องมีการนำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วัน นับตั้งแต่การประชุมเสร็จสิ้น และคุณต้องยื่นงบการเงินภายใน 1 เดือน หลังจากวันที่มีการประชุม

สำหรับห้างหุ้นส่วนไม่จำเป็นต้องมีการจัดประชุมเหมือน บริษัท จำกัด ครับ เพียงแต่ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือนนับตั้งแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาของบัญชี โดยในกรณีที่คุณไม่ได้ยื่นหรือยื่นย้อนหลังเวลาที่กำหนด คุณจะถูกเรียกเก็บค่าปรับเป็นจำนวนมากครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ เรื่องที่ต้องจัดการหลังจากจดทะเบียนบริษัทแล้ว อาจจะดูยุ่งยากสำหรับบางคน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำอย่างละเอียด ซึ่งถ้าหากคุณใช้บริการจากองค์กรที่รับดูแลเรื่องจดทะเบียนบริษัท ก็จะทำให้คุณไม่พลาดทุกขั้นตอน อันเป็นการรักษาประโยชน์ในการดำเนินงานเกี่ยวกับธุรกิจของคุณต่อไปอย่างราบรื่นครับ

สำนักงานบัญชี ซี.เอ.

455/37-38 ถนน พระราม 6, แขวง ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี, กรุงเทพ 10400

โทร : 094-659-5959

โทร : 02-215-0826

โทร : 02-215-0827

ไลน์ : @caaccounting

อีเมล : [email protected]

บริการของเรา

บริการรับจดทะเบียนบริษัท / ห้างหุ้นส่วน

บริการทำบัญชี ปิดงบการเงินรายเดือน

บริการปิดงบการเงินประจำปี ตรวจสอบบัญชี

บริการวางระบบบัญชี

บริการวางแผนภาษี

บริการจัดทำเงินเดือน