ภาษีเงินได้ มีกี่ประเภท?

ในฐานะผู้เสียภาษีอย่างเรา ก็ต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีไว้บ้าง เพื่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรได้อย่างถูกต้อง และในวันนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ ภ.ง.ด. หรือ ภาษีเงินได้ ที่เป็นแบบแสดงรายการภาษีที่เราต้องกรอก แล้วส่งให้แก่สรรพากรเพื่อเป็นหลักฐานการเสียภาษี และจากที่เรารู้กันอยู่แล้วว่าเจ้า ภาษีเงินได้นั้นมีหลากหลายประเภทเหลือเกินนั่นก็เป็นเพราะภาษีเงินได้แต่ละประเภทนั้น ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสถานะที่แตกต่างกันของผู้เสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลนั่นเองครับ
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงจะเกิดคำถามกันอยู่สินะครับ ว่า ภ.ง.ด. หรือ ภาษีเงินได้ มีกี่ประเภท? แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร? มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ
ภ.ง.ด. สำหรับ ”บุคคลธรรมดา” มี 4 ประเภท ได้แก่
ภ.ง.ด. 90 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป โดยต้องยื่นภายในมกราคม-มีนาคม ของทุกปี
ภ.ง.ด. 91 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน โดยต้องยื่นภายในมกราคม – มีนาคม ของทุกปี
ภ.ง.ด. 93 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการขอชำระภาษีล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ
ภ.ง.ด. 94 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้จากการให้เช่า เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา และเงินได้จากธุรกิจเกษตร ขนส่งอุตสาหกรรม โดยมีกำหนดการยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 1 กรกฏาคม ถึง 30 กันยายน ของปีภาษีเดียวกัน
ภ.ง.ด. สำหรับ ”นิติบุคคล” แบ่งออกเป็น ภาษีหักเงินได้ ณ ที่จ่าย และ ภาษีนิติบุคคล
ภาษีหักเงินได้ ณ ที่จ่าย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
ภ.ง.ด. 1
คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับบุคคล บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน ที่เสียเงินได้ให้แก่ผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา ในกรณี จ่ายเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง โบนัส หรือค่านายหน้า ซึ่งในกรณีนี้ผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ จะต้องยื่นส่ง ภ.ง.ด. 1 เพื่อแจ้งให้กรมสรรพากรทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินให้แก่บุคคลธรรมดา
ภ.ง.ด. 2
คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับบุคคล บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน ในกรณีที่เสียเงินได้ประเภท ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิต่างๆ ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน เงินปันผล ซึ่งในกรณีนี้ผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ จะต้องยื่นส่ง ภ.ง.ด. 2 ให้กรมสรรพากรทราบภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
ภ.ง.ด. 3
คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับบุคคล บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน ในกรณีที่เสียเงินได้ประเภท ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่ารับเหมา ค่าบริการ ค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา และค่าขนส่ง ซึ่งผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ จะต้องยื่นส่ง ภ.ง.ด. 3 ให้กรมสรรพากรทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
ภ.ง.ด. 53
คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับนิติบุคคลด้วยกันเอง ในกรณีที่เสียเงินได้ประเภท ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่านายหน้า ค่าบริการค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา และค่าขนส่ง ซึ่งผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ จะต้องยื่นส่ง ภ.ง.ด. 53 ให้กรมสรรพากรทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
ภาษีนิติบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ภ.ง.ด. 50
คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (หากยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตสามารถยื่นเลยกำหนดได้อีกภายใน 8 วัน)ี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้
ภ.ง.ด. 51
คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคล ในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) กล่าวคือ การจ่ายภาษีนิติบุคคลให้แก่กรมสรรพากรก่อนสำหรับกำไรในรอบ 6 เดือนแรก หลังจากนั้นจึงคำนวณค่าภาษีอีกครั้งตอนสิ้นปี โดย ภ.ง.ด. 51 ต้องยื่นภายในระยะเวลา 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
สรุปภาษีนิติบุคคล
ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการจะต้องนำรายได้มาคำนวณในการเสียภาษียื่นเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกเป็นการยื่นเสียภาษีครึ่งปีแรกโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.51 ซึ่งต้องยื่นในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ครั้งที่ 2 จะต้องเสียภาษีเต็มปีโดยใช้แบบภ.ง.ด.50 ซึ่งต้องยื่นภายในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป
โดยธุรกิจที่เป็น SMEs คือ
1. มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท
2. รายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการตลอดทั้งปี (ตามรอบระยะเวลาบัญชี) ไม่เกิน 30,000,000 บาท
อัตราภาษีกิจการ SME
