จะทำอย่างไรดี ?...เมื่อโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

สวัสดีครับท่านประชาชนผู้เสียภาษีทุกท่าน เริ่มต้นปีเช่นนี้ ภาษีประจำปี ต่างเป็นสิ่งที่เรากำลังจัดการยื่นกันอยู่ใช่ไหมล่ะครับ ในขณะเดียวกันความรอบครอบก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการยื่นภาษีแต่ละประเภท เพราะถ้าหากเรายื่นภาษีไม่ถูกต้อง หรือยื่นภาษีไม่ครบจำนวน กรณีนี้มีเปอร์เซ็นสูงมากที่คุณจะพบกับสิ่งที่เรียกว่า“การเก็บภาษีย้อนหลัง” ที่จะมาพร้อมกับความปวดหัวของคุณในภายหลังได้ครับ เพราะคุณจะต้องยูเทรินกลับมาจ่ายภาษีตามความรับผิดชอบของคุณในฐานะผู้มีรายได้และผู้เสียภาษีนั่นเอง
แล้วเราจะ ทำอย่างไรดี…เมื่อโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ไม่ต้องเป็นกังวลครับสำหรับเคสนี้ เพราะเราจะพาทุกท่านมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ภาษีย้อนหลัง และวิธีการรับมือกับภาษีย้อนหลังให้ทุกท่านได้รับทราบเองครับ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ยื่นภาษี หรือผู้เสียภาษีมือใหม่ เราได้นำโซลูชั่นมาให้คุณ ณ ที่นี้แล้ว มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ
มาทำความเข้าใจ กับ ภาษีย้อนหลัง
การเก็บภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) เป็นการตรวจสอบการยื่นภาษีเพื่อป้องกันและปราบปรามทางภาษีอากรโดยมี 3 หน่วยงาน คอยกำกับดูแลและรับผิดชอบ คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต แต่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเราจริงๆ เลยก็ คือ กรมสรรพากร ที่ขึ้นตรงกับกลุ่มผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจ ซึ่งจะมีการเก็บภาษีทางอ้อม หรือ Vat อีกด้วยครับ
คุณอาจจะต้องหลักการคำนวณที่แม่นยำ เพราะคุณต้องทำการประมาณการภาษีทั้งปีว่าคิดเป็นจำนวนเท่าไหร่ จากนั้นให้นำมาหาร 2 เพื่อคิดเป็นยอดภาษีกลางปี ซึ่งถ้าหากคูณมีการคำนวณผิด ก็จะโดนปรับเงินด้วยนะครับ ซึ่งตรงนี้คุณต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังกลางปีของรอบบัญชีคุณผ่านไป โดยเรียกว่าการยื่นแบบ ภ.ง.ด51
วิธีการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากร
หากใครที่กำลังสงสัยกับ กรมสรรพากร ที่จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เสียภาษีแต่ละคนมีรายได้เท่าไหร่ และต้องเสียภาษีเท่าไหร่อะไรบ้าง เราขอบอกตรงนี้เลยว่า สรรพากร มีวิธีและขั้นตอนการตรวจสอบการจ่ายภาษีของประชาชนทุกคนอย่างละเอียดและแม่นยำจริงๆ ครับ โดยการตรวจสอบภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากร ได้แก่
การออกตรวจเยี่ยม
เจ้าหน้าที่สรรพากรจะทำกรลงพื้นที่ตรวจสอบผู้เสียภาษี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกลุ่มผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจมักจะเป็นเป้าหมายในการตรวจสอบ
การตรวจนับสต็อกสินค้า
ตรวจสอบผู้ที่ทำธุรกิจการค้าขายทั้งในประเทศและส่งออก ซึ่งจะทำการคำนวณภาษีจากอัตราจำนวนของสต็อกสินค้า และจะทำให่ทราบว่าผู้ประกอบการต้องเสียภาษีเท่าไหร่ และที่จ่ายมาครบถ้วนหรือไม่
การสอบยันใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีปลอม อาจถูกทำขึ้นจากผู้ประสงค์ร้ายที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษี สรรพากรจึงต้องทำการตรวจสอบด้วยการยันใบกำกับภาษี เพื่อให้แน่ใจว่าใบกำกับภาษีนั้น จริง หรือปลอม จากนั้นจึงคิดคำนวณภาษีที่ถูกหลีกเหลี่ยงไปพร้อมกับการเรียกเก็บย้อนหลัง
การตรวจคืนภาษี
การตรวจคืนภาษีเป็นวิธีที่ถูกใช้บ่อยที่สุด และใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากวิธีนี้จะใช้สำหรับการตรวจสอบผู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งมีจำนวนมาก
การตรวจค้น
วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่สงสัยว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีจำนวนมากและชัดเจน โดยจะเข้าไปทำการตรวจค้นเพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติม พร้อมทั้งยึดและอายัดบัญชีรวมถึงเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษี
การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษี
ในกรณีที่กรมสรรพากรมีเหตุสงสัยจะทำการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบบัญชี ซึ่งผู้เสียภาษีจะต้องส่งมอบบัญชีและเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ให้แก่เจ้าพนักงาน เพื่อทำการตรวจสอบ โดยถ้าหากพบหลักฐานที่มีการเลี่ยงภาษีทางกรมสรรพากรก็จะทำการเรียกเก็บภาษีตามจำนวนที่ต้องเสียจริง
ในปัจจุบันสรรพากรก็ยิ่งเข้าถึงผู้เสียภาษีมากขึ้น เพราะการเชื่อมโยงข้อมูลของสรรพากรเปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงทั้งประกันสังคม กรมศุลกากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และธนาคารต่างๆ โดยเหล่านี้ ก็จะต้องส่งข้อมูลให้แก่สรรพากรตามกฏหมาย ดังนั้นอย่าคิดที่จะเลี่ยงภาษีเลยนะครับ
อายุความของการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
สำหรับผู้ที่มีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือยื่นไม่ครบจำนวน ซึ่งสิ้นสุดกระบวนการตรวจสอบ จะได้รับหมายเรียกจากเจ้าพนักงานจากกรมสรรพากร ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ซึ่งในกรณีที่มีการตรวจสอบแล้วพบว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษี ทางสรรพากรจะอนุมัติให้มีการยืดอายุความภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการการเสียภาษี
สำหรับธุรกิจที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือยื่นไม่ครบจำนวน จะได้รับการประเมินและทำการเรียกเก็บย้อนหลังภาษีย้อนหลังได้ภายใน 10 ปี ตาม มาตรา 193/31 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกแต่อย่างใด ซึ่งอายุความเรียกเอาหนี้ภาษีอากรคืน จะนับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดการยื่นแบบภาษี
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี แม้ตามประมวลรัษฎากรจะไม่ได้ระบุระยะเวลาในการอออกหมายเรียกไว้ แต่จะถูกกำหนดระยะเวลาตามอายุความทั่วไปจากเจ้าพนักงานที่มีอำนาจประเมินและเรียกเก็บภาษีได้ภายในระยะเวลา 10 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดยื่นแบบแสดงรายการนั้น
วิธีปฏิบัติเมื่อโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
สำหรับผู้ที่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ควรจะรับผิดชอบโดยการ จ่ายภาษี ให้ครบตามจำนวนที่เราติดค้างไว้ครับ หรือหากโชคร้ายทางสรรพากรก็จะปรับเงินจำนวนหนึ่ง แต่ในกรณีที่ยื่นภาษีไม่ทันกำหนดก็จะต้องเสียเบี้ยค่าปรับจำนวนหนึ่งเช่นกันครับ นอกจากนี้อาจมีโทษทางอาญาด้วย เช่น เสียค่าปรับหรือจำคุก โดยจะขึ้นอยู่กับความผิดในกรณีนั้นๆ ได้ครับ ซึ่งสามารถศึกษา บทลงโทษสำหรับไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้อง ได้ที่นี่ครับ
แต่สำหรับใครที่คิดว่าตัวเองรับผิดชอบจ่ายภาษีครบจำนวนไปแล้ว ก็สามารถชี้แจงเอกสารต่างๆ ที่เป็นหลักฐานให้แก่กรมสรรพากร เพื่อตรวจสอบความถูกต้องได้ครับ
“เพื่อเป็นการป้องกันการโดนเรียกเก็บ ภาษีย้อนหลัง เราจึงได้นำข้อควรระวังในการจัดการภาษีมา ณ ที่นี้แล้ว”
1. ควรตรวจสอบเอกสารรายรับอย่างถูกต้องก่อนยื่นภาษี กล่าวคือควรดูว่ารายรับของเราอยู่ในเงินได้ประเภทไหนเนื่องจากประเภทของเงินได้นั้น มีความสัมพันธ์กับการหักค่าใช้จ่าย
2. ควรศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษี ซึ่งหากเป็นนิติบุคคลแล้วควรหมั่นทำความเข้าใจกับภาษีธุรกิจทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์ และภาษีเฉพาะธุรกิจ เนื่องจากกรมสรรพากรจะมีการเปลี่ยนแปลงหรืออกกฎหมายใหม่ๆ เกี่ยวกับการเสียภาษีตามความเหมาะสมกับวิธีการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน
3. ควรมีการทำบัญชีรายเดือน เพื่อเป็นแบบแสดงสภาพทางการเงินของธุรกิจ และเป็นหลักฐานการมีรายได้ของธุรกิจไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน หรือถ้าหากใช้บริการทำบัญชีจากบริษัททำบัญชีก็ยิ่งดีเลยครับ เพราะจะช่วยเราในการตรวจสอบความถูกต้องในการคำนวณภาษีได้อย่างเป็นระบบ ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อการชำระภาษีโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะไม่มีการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังจากกรมสรรพากรแน่นอนครับ
อ่านมาจนจบกันแล้ว จะรู้ได้เลยว่า ภาษีเป็นเรื่องที่เราต้องศึกษา เพื่อการจ่ายภาษีอย่างถูกต้องโดยไม่ให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในภายหลัง สำหรับใครที่พยายามศึกษาเรื่องภาษีอยู่ กระผมขอเอาใจช่วยครับ เพราะบอกได้เลยครับว่าการชำระภาษีอย่างถูกที่ถูกเวลา ช่วยประหยัดเงินกว่าการเลี่ยงภาษีจริงๆ แถมยังทำให้เราสบายใจด้วย เพราะเบื้ยค่าปรับนี่ต้องบอกเลยครับว่าโหดมาก และที่ร้ายที่สุดอาจได้รับโทษทางอาญาอีกด้วยครับ
“ถึงภาษีจะทำให้ใครหลายคนปวดหัว แต่หากเราไม่ทำความเข้าใจกับภาษี ปวดหัวยิ่งกว่าเดิมแน่นอนครับ”

สำนักงานชาญและเพื่อนทนายความ โดย เมโทร แปซิฟิค ดีเวลอปเมนท์ จำกัด
455/37-38 ถนน พระราม 6, แขวง ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี, กรุงเทพ 10400
โทร : 02-2150826-7, 088-9799829
แฟกซ์ : 02-6138312
อีเมล : [email protected]
ไลน์ : @charlassociate