5 คำตอบไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

สำหรับ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คงจะได้ยินกันบ่อยๆ ใช่ไหมล่ะครับ แต่ว่าหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า เจ้าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มันคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? และใครบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย? ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมคำถามเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่หลายคนอาจสงสัยกันอยู่ มาไขข้อข้องใจกัน !

1. Q : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ?

A : คือ เงินที่ผู้จ่าย หัก เอาไว้ก่อนนำไปจ่ายให้แก่ผู้รับเงิน แล้วนำเงินจำนวนที่หักไปให้แก่รัฐ ผู้รับเงินจะไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน แต่จะได้ หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ลักษณะเป็นเงินบวกกระดาษแผ่นหนึ่ง) ส่วนผู้จ่าย จะต้องจ่ายเงินเต็มจำนวน เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็จะให้สรรพากรภายใน 7 วัน สำหรับในกรณีที่ปริ้นไปยื่นมือที่สรรพากรท้องที่ หรือภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปกรณีที่คุณยื่นภาษีเป็นแบบออนไลน์ครับ

2. Q : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มีความจำเป็นอย่างไร ?

A : ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นตัวช่วยชลอการจ่ายภาษีจำนวนมากๆ ในครั้งเดียว เมื่อถึงปลายปีเป็นการจ่ายเป็นหลายๆ ครั้งแทน ซึ่งหากผู้เสียภาษีต้องจ่ายเงินภายในครั้งเดียวอาจกระทบต่อสภาพข้องทางการเงินของผู้เสียภาษี นอกจากนี้รัฐยังได้ประโยชน์ไปด้วยจากการได้รับเงินภาษีมาหมุนเวียนเป็นเดือนๆ และยังเป็นการป้องกันการเลี่ยงภาษีได้อีกด้วย

3. Q : ใครมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งสรรพากร?

A : ไม่ใช่เพียงแค่บริษัท หรือนิติบุคลเท่านั้นที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งการจะหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทรายการที่จ่าย ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ทำธุรกิจ มีการจ้างพนักงาน มีการจ่ายค่าแรง ก็ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่สรรพากร ในกรณีที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องหัก

4. Q : ใครที่จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ?

A : กล่าวง่ายๆ คือ ผู้เสียภาษีทุกคนจะโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งหากคุณไม่ใช่ผู้เสียภาษีก็จะไม่โดนหัก ณ ที่จ่าย แต่ถ้าคุณโดนหักโดยที่คุณไม่เข้าข่ายเสียภาษี ก็สามารถขอเงินที่ถูกหักคืนได้ ในกรณีนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นธุรกิจที่ได้ BOI หรือรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี

5. Q : ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องหักเมื่อใด ?

A : เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกัน เช่น หากคุณแบ่งจ่ายบริการมูลค่า 1,400 บาท 2 ครั้ง ครั้งละ 700 บาท คุณต้องหักไว้ทั้ง 2 ครั้งด้วย แม้แต่ละครั้งจะไม่เกิน 1,000 บาท ก็ตาม

สำหรับ รายการที่ต้องหัก และนำส่ง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มีดังนี้

1. เงินเดือน ค่าจ้าง (เงินได้ประเภทที่ 1)
2. จ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2)
3. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)
4. จ้างบริการวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)
5. จ้างทำของ/จ้างรับเหมา/บริการต่างๆ (เงินได้ประเภทที่ 7/8)
6. ค่าโฆษณา (เงินได้ประเภทที่ 8)
7. ค่าขนส่ง (เงินได้ประเภทที่ 8)

จะเห็นได้ว่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเรื่องที่จำเป็นจริงๆ สำหรับเรา เพราะเราล้วนแล้วแต่เป็นผู้เสียภาษี โดยเฉพาะผู้ประกอบการและนักบัญชีมือใหม่ ที่ต้องเรียนรู้เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับภาษี เพื่อการบริการจัดการทางการเงินที่ดี สุดท้ายนี้เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เราได้นำเสนอในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกคนนะครับ ซึ่งหากใครสนใจปรึกษาเรื่องบัญชีภาษี ติดต่อเรา “สำนักงานบัญชี C.A.” ได้เลย

สำนักงานบัญชี ซี.เอ.

455/37-38 ถนน พระราม 6, แขวง ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี, กรุงเทพ 10400

โทร : 094-659-5959

โทร : 02-215-0826

โทร : 02-215-0827

ไลน์ : @caaccounting

อีเมล : [email protected]

บริการของเรา

บริการรับจดทะเบียนบริษัท / ห้างหุ้นส่วน

บริการทำบัญชี ปิดงบการเงินรายเดือน

บริการปิดงบการเงินประจำปี ตรวจสอบบัญชี

บริการวางระบบบัญชี

บริการวางแผนภาษี

บริการจัดทำเงินเดือน